2 องค์ประกอบของระบบ Remote Sensing ประกอบด้วยอะไรบ้าง
 

ทฤษฎี

1. แหล่งข้อมูลของการตรวจวัด (Sources) 
เป็นข้อมูลด้านกายภาพ  ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งประกอบด้วยที่ราบในลักษณะต่างๆ  เช่น สันเขา ทิวเขา หน้าผารอยหก  รอยเลื่อน,  ลักษณะโครงสร้างของหิน  รูปทรงของหินทราย  หินปน  หินอัคนี,  หรือการจำแนกระบบการระบายน้ำ  เช่น  ระบบการระบายน้ำแบบเกลียวเชือก  รูปร่างโค้งตวัด กุด  รอยกุด, การจำแนกประเภทของแหล่งน้ำ เช่น หนองบึง อ่างเก็บน้ำ, การจำแนกลักษณะดิน เช่น บริเวณดินตะกอน ดินพังทลาย, การจำแนกลักษณะชายฝั่งเช่น  ชายฝั่งยุบจม  ชายฝั่งงอกยื่น  สันทรายที่เกิดขึ้นชายฝั่ง  สันดอนชายฝั่ง  ชายหาด  เกาะแก่งต่างๆ,  การจำแนกประเภทของป่าไม้ เช่น ป่าไม้ผลัดใบ ป่าผลัดใบ ป่าถูกบุกรุกทำลาย เป็นต้น

2. อุปกรณ์การตรวจวัดจากระยะไกล (Remote Sensor )
จะแบ่งแยกอุปกรณ์ตามระบบที่ใช้ในการตรวจวัดได้ 4 ประเภทคือ

     1) ระบบวิทยุ (Radiometer) เป็นความถี่ที่ต่างกันของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นพลังงานจากดวงอาทิตย์โดยระบบนี้เป็นระบบที่ตรวจวัดค่าพลังงานตั้งแต่ช่วงคลื่นแสงสว่างที่ตามนุษย์มองเห็นจนถึง
คลื่นไมโครเวฟ  สำหรับระบบนี้เป็นระบบรีโมทเซนซิงที่นำมาใช้ทางด้านภูมิศาสตร์

     2) ระบบเสียง (Audiometer)  เป็นความถี่ที่ต่างกันของคลื่นเสียง  ใช้ในการหยั่งความลึกของพื้นมหาสมุทร  หรือรู้จักกันในระบบโซนา (Zonar) และอัลตราซาวด์ (Ultra sound)

     3) ระบบแม่เหล็ก (Magnetometer) เป็นความเข้มของสนามแม่เหล็กที่ต่างกัน เช่น การวัดความเข้มของทิศทางเหนือใต้ของสนามแม่เหล็กในชั้นหินของเปลือกโลก เป็นต้น

     4) ระบบโน้มถ่วง (Granimeter)  เป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราความเร่งของแรงโน้มถ่วงเกิดขึ้นในชั้นหินที่แตกต่างกันใช้ในการค้นหา ปิโตรเลียม และแหล่งแร่ สำหรับดาวเทียมใช้ระบบนี้เพื่อวัดความกลมแป้นของโลก เป็นต้น

3. ระบบการประมวลผลข้อมูล (Data Processing System)
ใช้ผู้ปฏิบัติการและระบบคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลภาพดาวเทียมที่ได้มาออกเป็นแผนที่ให้บุคคลทั่วไปใช้

 
 

© ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี