ทฤษฎี ลักษณะของการกระเจิงออกได้เป็น 3 แบบ คือ
1. การกระเจิงแบบเรเลห์ (Rayleigh scattering) เป็นกรณีที่ขนาดของอนุภาคในอากาศ เล็กกว่า ขนาดของ (scattering) ความยาวคลื่นมาก ในกรณีนี้ อัตราการกระเจิง จะแปร ผกผัน กับขนาดของความยาวคลื่นยกกำลังสี่
หมายความว่า อัตราการกระเจิงจะลดลง 16 เท่า หากความยาวคลื่นเพิ่มขึ้น 22 เท่า เป็นต้น
2. การกระเจิงแบบเมีย (Mie scattering) เป็นกรณีที่ขนาดของอนุภาคอากาศ ใกล้เคียงหรือใหญ่กว่า ขนาด (scattering) ของความยาวคลื่นไม่มากนัก (~ 0.1-10 เท่า) ในกรณีนี้ อัตราการกระเจิง จะขึ้นกับ ความยาวคลื่นเช่นกัน
ในรูปแบบที่ค่อนข้างซับซ้อน อนุภาคในกลุ่มนี้ที่สำคัญ คือ ละอองน้ำ หรือ ฝุ่นละออง เป็นต้น
3. การกระเจิงแบบเรขาคณิต (Geometric scattering) เป็นกรณีที่ขนาดของอนุภาค ใหญ่กว่า ขนาดของความยาวคลื่นมาก (ประมาณ >10 เท่า) ในกรณีนี้ อัตราการกระเจิง จะไม่ขึ้นกับ ขนาดความยาวคลื่นอีกต่อไป แต่จะมีค่าคงที่ สำหรับทุกความยาวคลื่น เรียกว่าเป็น non-selective scattering |