5 เทคนิคในการกำหนดค่าพิกัดภูมิศาสตร์ให้ข้อมูลภาพดาวเทียมมีกิ่วิธีอะไรบ้าง
 

ทฤษฎี

1. การกำหนดระบบพิกัดระหว่างภาพกับภาพ (Image to Image)
การให้ค่าพิกัดโดยวิธีนี้  เป็นกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ของระบบพิกัดของข้อมูลภาพ 2 ภาพ หรือมากกว่า 
ระหว่างข้อมูลภาพที่ไม่มีระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Ungeocoded image)  กับข้อมูลภาพในระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geocoded image) หรอข้อมูลอ้างอิง เพื่อเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่มีพิกัดทางภูมิศาสตร์ให้เป็นระบบพิกัดใหม่ตามระบบพิกัดของข้อมูลอ้างอิง  โดยกำหนดจุด GCP  จากตำแหน่งของวัตถุที่สามารถเห็นได้ชัดเจนในข้อมูลภาพทั้งสองหรือหลายภาพ ตัวอย่างของวิธีการนี้  เช่น การใช้ภาพข้อมูลระยะไกล (Remotely sensed image) ศึกษาข้อมูลในพื้นที่เดียวกันแบบหลายช่วงเวลา

2. การกำหนดระบบพิกัดระหว่างภาพกับแผนที่ (Image to Map)
เทคนิคนี้เป็นการกำหนดจุด GCPs ให้กับข้อมูลภาพที่ต้องการให้ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ โดยอ้างอิงจากข้อมูลเชิงเส้น
ที่มีอยู่แล้ว (Existing vector data) หรือข้อมูลจากระบบกำหนดพิกัดพื้นโลกด้วยสัญญาณดาวเทียม (Global Positioning System-GPS) นอกจากนี้อีกวิธีหนึ่งคือ  ใช้แผนที่ภูมิประเทศหรือแผนที่เฉพาะเรื่อง (Thematic map)
ที่มีระบบพิกัดภูมิศาสตร์เป็นระบบ UTM เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิง



 
 

© ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี