ทฤษฎี
1. การปรับแก้แบบมีระบบ (Systematic Correction)
เป็นการปรับแก้ทางเรขาคณิตของเครื่องบันทึกหรือเครื่องวัดที่มีความเพี้ยนอย่างมีระบบตามทฤษฎี ของเลนส์ ความยาวโฟกัสและจุดดัชนี (fiducial mark) เป็นต้นที่สามารถแก้ไขได้เบื้องต้นก่อนการทำงาน
2. การปรับแก้แบบไม่มีระบบ (Non -Systematic Correction)
เป็นการนำสมการมาใช้ในการปรับแก้ภาพจากระบบหนึ่งไปอีกระบบหนึ่ง โดยใช้วิธีการลีสท์สแควร์ในการหาค่าตัวแปรเพื่อหาค่าความสัมพันธ์ในการปรับแก้ ซึ่งการปรับแก้จะใช้สมการอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ
2.1 รูปแบบสมการเส้นตรง (liner models)
เป็นการนำสมการเส้นตรงที่อยู่ในรูปของ Y = a + bX มาทำการแปลงค่าพิกัดบนเส้นตรง เมื่อ Y เป็นค่าที่ได้มาจาก
ตัวแปร X โดยที่ b เป็นความชันของเส้นตรงและ a เป็นจุดตัดแกน Y เมื่อ X เท่ากับศูนย์ จาก
ตัวอย่างดังรูปที่ 3
แสดงให้เห็นจุด 5 จุดที่รังวัดค่าพิกัด x, y เมื่อแปลงพิกัดให้ทุกจุดอยู่บนสมการเส้นตรงจะพบว่า ทั้ง 5 จุดจะมีค่าเศษเหลือ (residual error) เกิดขึ้นจากระยะทางจากจุดที่ห่างจากสมการเส้นตรงซึ่ง ถ้าค่าความผิดรวมยิ่งน้อยก็จะทำให้
แนวเส้นที่แปลงค่าพิกัดเข้าสู่เส้นตรงมีค่าดียิ่งขึ้น
Next >
|