10
ประโยชน์ของข้อมูลที่ได้มาจากการตรวจวัดจากระยะไกลมีอะไรบ้าง
 

ทฤษฎี

1. การสำรวจทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา (Archaeology and Anthropology Study)
ที่สำคัญคือ การสำรวจ ที่ตั้ง ของแหล่งโบราณสถาน ในพื้นที่ซึ่งยากต่อการเข้าถึงทางพื้นดิน รวมถึงที่อยู่ ใต้ผิวดิน
ไม่ลึกมากนัก โดยมักใช้ข้อมูลที่ได้จากเรดาร์และเครื่องวัดการแผ่รังสีช่วง IR

2. การรังวัดภาพและการทำแผนที่ (Photogrammetry and Cartography)
ที่สำคัญคือการทำแผนที่แสดง ลักษณะภูมิประเทศ (topographic) และแผนที่แสดง ข้อมูลเฉพาะอย่าง
(thematic map) ซึ่งมักต้องใช้เทคนิคทาง GIS เข้ามาช่วยด้วย

3. การสำรวจทางธรณีวิทยา (Geological Survey)
ที่สำคัญคือ การสำรวจโครงสร้างชั้นดินและชั้นหิน การสำรวจแหล่งแร่ การสำรวจแหล่งน้ำมัน การสำรวจแหล่งน้ำใต้ดิน และการสำรวจพื้นที่เขตภูเขาไฟและเขตแผ่นดินไหว เป็นต้น

4. การศึกษาทางวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
ที่สำคัญคือ การศึกษาพื้นที่ (site study) การวางผังระบบสาธารณูปโภค (infrastructure planning) และ การวางแผน
จัดระบบการขนส่งและการจราจร ( transport and traffic planningtr) เป็นต้น

5. การศึกษาในภาคเกษตรและการจัดการป่าไม้ (Agricultural and Forestry Study)
ที่สำคัญมีอาทิเช่น การใช้ประโยชน์ที่ดินภาคเกษตร การสำรวจคุณภาพดิน การสำรวจความสมบูรณ์ของพืชพรรณ
และการตรวจสอบการใช้ประโยชน์และการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ตามเวลา เป็นต้น

6. การวางผังเมือง (Urban planning)
ที่สำคัญมีอาทิเช่น การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเมือง การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพและขนาดของเขตเมือง และการออกแบบพื้นที่เชิงภูมิสถาปัตย์ ( landscape modeling)  เป็นต้น

7. การศึกษาแนวชายฝั่งและมหาสมุทร (Coastal and Oceanic Study)
ที่สำคัญมีอาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพและขนาดของเขตชายฝั่ง การจัดการพื้นที่ชายฝั่ง และการศึกษาคุณสมบัติเชิงกายภาพและเชิงเคมีของน้ำทะเลระดับบน เช่น อุณหภูมิหรือความเค็ม เป็นต้น

Next >

 
 

© ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี