10
ประโยชน์ของข้อมูลที่ได้มาจากการตรวจวัดจากระยะไกลมีอะไรบ้าง
 

ทฤษฎี

8. การติดตามตรวจสอบภัยธรรมชาติ (Natural Disaster Monitoring)
ที่สำคัญมีอาทิเช่น น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม การระเบิดของภูเขาไฟ แผ่นดินไหว การเกิดไฟป่า หรือการเกิดไฟในแหล่งถ่านหินใต้ผิวดิน ( subsurface coal fires subsurface fires) ) เป็นต้น

9. การสำรวจบรรยากาศและงานวิจัยทางอุตุนิยมวิทยา ( Atmospheric and Meteorological Study)
ที่สำคัญมีอาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในช่วงสั้น การศึกษาองค์ประกอบของอากาศที่ระดับความสูงต่าง ๆๆ เช่น ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ โอโซน รวมไปถึง การตรวจสอบการแปรปรวนของอากาศระดับล่าง เช่น การเกิดพายุขนาดใหญ่ หรือ พายุฝนฟ้าคะนอง เป็นต้น

10. การศึกษาทางนิเวศวิทยาและสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ( Ecosystem and Natural Environment Study)
ที่สำคัญมีอาทิเช่น การศึกษาระบบนิเวศน์ของป่าเขตร้อน ระบบนิเวศน์ป่าริมน้ำ การวิเคราะห์ถิ่นอาศัยของสัตว์ป่า หรือ การวิเคราะห์ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เป็นต้น

11. การหาข้อมูลเพื่อภารกิจทางทหาร ( Military Services)
ที่สำคัญคือ การถ่ายภาพจากทางอากาศด้วยเครื่องบินสอดแนม (spy planespy plane) และ การสำรวจพื้นที่ที่สนใจ โดยใช้เครื่องตรวจวัดประสิทธิภาพสูงบนดาวเทียม






< Back

 
 

© ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี