6 ลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่อ้างอิงในการจำแนกภาพดาวเทียมมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
 

ทฤษฎี

1. กลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม (Random Sampling)
เป็นลักษณะของกลุ่มตัวอย่างไม่ได้จัดเตรียมเพื่อมาเป็นข้อมูลอ้างอิงอย่างเหมาะสมจากการประมาณ ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งการจัดเตรียมขนาดของกลุ่มตัวอย่างแบบนี้ จึงต้องการให้มีจำนวนเพียงพอเท่านั้น สำหรับการทำงานในการจำแนก ของผู้ปฏิบัติงาน จากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างลักษณะที่ต้องการทำอย่างรวดเร็วในการทำงานที่ใช้เวลามาก
ของจุดภาพจำนวนมาก บนภาพดาวเทียม  ในการสร้างกลุ่มตัวอย่างลักษณะนี้จะกำหนดตำแหน่ง ของจุดภาพที่เป็น
ตัวแทน รายละเอียดนั้นทั้งหมดก่อน จากนั้นจึงเลือกลักษณะของจุดภาพ ในรายละเอียดและลักษณะเช่นเดียวกันขยายออกไป โดยไม่ไปกระทบหรือมีผลกับรายละเอียดอื่นๆ ดังรูปที่ 7.10 ข้อดีก็คือทำให้สามารถเลือกลักษณะกลุ่มตัวอย่างชนิดเดียวกัน ได้จากเทคนิคการก่อตัวเป็นชั้นๆ ที่มีผลทางสถิติ แต่ข้อเสียก็คืออาจจะมีปัญหากับลักษณะของรายละเอียดที่มีขนาดเล็ก บนภาพดาวเทียมที่อาจจะถูกมองข้ามได้

2. กลุ่มตัวอย่างแบบมีแบบแผน (Systematic Sampling)
เป็นวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่แก้ไขข้อบกพร่องจากวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ทำงาน ในวิธีการนี้จะต้องทำการศึกษาพื้นที่ที่ตรงกันและจัดการรายละเอียดไปตามแนวเส้นตรงของค่าพิกัด แต่บางครั้งอาจจะมีข้อมูลที่ทำให้แนวเส้นเป็นลักษณะโค้งเข้าหากันได้เช่น หุบเขาก็จะเกิดปัญหาได้เช่นกัน ดังรูปที่ 7.11 ซึ่งผลของวิธีแบบมีแบบแผนจะถูกใช้เนื่องจากจะทำให้ได้ข้อมูลจำนวนมากจากกลุ่มตัวอย่างทั้งในแต่ละแบบ ข้อดีคือทำให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงและมีทิศทางตามที่กำหนด ส่วนข้อเสียคือบางพื้นที่ที่มีรายละเอียดที่เป็นลักษณะของภูเขา แอ่งน้ำก็จะทำให้ทิศทางของข้อมูลเกิดการวนซ้ำ

3. กลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มที่ก่อตัวเป็นชั้น (Stratified Random Sampling)
ในงานสำรวจระยะไกลที่วิเคราะห์การเลือกกลุ่มตัวอย่างลักษณะนี้เริ่มจากจำนวนน้อยที่สุดของกลุ่มตัวอย่างในแต่ละชั้น
ที่ถูกเลือก สำหรับเตรียมการจำแนกรายละเอียด ซึ่งกระบวนการในการแก้ปัญหาของการเลือกตัวอย่างแบบนี้มี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นแรกศึกษาพื้นที่ที่จะต้องแบ่งเป็นส่วนๆ ของแต่ละชั้นในการสำรวจระยะไกลเพื่อทำแผนที่ ซึ่งชั้นที่สร้างขึ้น
จะประกอบไปด้วยจุดภาพที่เป็นรูปปิดมีคุณลักษณะเฉพาะแต่ละชั้น ขั้นที่สองคือวิเคราะห์จากลักษณะ
ของรายละเอียดเพื่อแบ่งข้อมูลออกเป็นชั้นๆ ของข้อมูลทั้งหมด ซึ่งบางครั้งผลจากการวิเคราะห์จะกำหนดพื้นที่บางส่วน
ที่ไม่อยู่ในชั้นนั้นเป็นกลุ่มไว้ดังรูปที่ 7.12 ที่ชั้นที่ 3 และ 4 มีลักษณะข้อมูลเดียวกันอย่างสมบูรณ์ ยกเว้นที่ชั้น 1 และ 2
มีกลุ่มป่าไม้แทรกอยู่ในชั้นนั้นด้วย ข้อดีของวิธีนี้คือทำให้รายละเอียดทุกๆ จุดภาพถูกกำหนดกลุ่มทั้งหมด
ซึ่งอาจจะมีบางตัวอย่างที่มีค่าความผิดพลาดอยู่ในชั้นบ้างก็ตาม บางครั้งถ้าไม่มีวิธีการนี้ก็จะพบว่าการทำงานบางพื้นที่
จะมีความยากลำบากที่จะจำแนกรายละเอียดของแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นมีที่ส่วนเล็กๆ แทรกอยู่บนพื้นที่
                                                                                                                         Next >

 
 

© ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี