6 ลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่อ้างอิงในการจำแนกภาพดาวเทียมมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
 

ทฤษฎี

4. กลุ่มตัวอย่างแบบที่ก่อตัวเป็นชั้นอย่างมีแบบแผนและไม่เป็นเส้นตรง
(Stratified Systematic and Unaligned Sampling)

เป็นวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบที่ก่อตัวเป็นชั้นอย่างมีแบบแผนและไม่เป็นเส้นตรง เป็นการรวมเอาวิธีการสุ่มตัวอย่าง
และวิธีการเลือกแบบมีแบบแผนมารวมกัน โดยในกระบวนการจะทำการกำหนดตำแหน่งของจุดภาพเริ่มต้นในประเภทใด ประเภทหนึ่งก่อนที่ทราบ ดังจุด A บนรูปที่ 7.13 จากนั้นจากจุด A ที่ทราบประเภทของรายละเอียดแล้วนั้นมาทำการสุ่ม
จุดภาพต่อไปเช่นจุด B และ E ซึ่งเมื่อสุ่มจากจุด E ไปไม่พบลักษณะเช่นเดียวกันก็จะกลับมาเริ่มที่จุด A และสุ่มไปทางคอลัมน์ คือ จุด C จากจุด C ก็จะเป็นจุด F และ G ที่มีรายละเอียดประเภทเดียวกันจนกระทั่งครบทั้งภาพตามที่ต้องการ
ซึ่งจากลักษณะดังกล่าว ทำให้ข้อดีของกลุ่มตัวอย่างแบบนี้ คือสามารถแยกรายละเอียดที่เป็นประเภทเดียวกัน
ได้อย่างชัดเจนทุกจุดส่วนข้อเสียก็คือถ้ารายละเอียดในบางจุดไม่ชัดเจนก็จะทำให้ข้อมูลเกิดความผิดพลาดได้และ
ใช้เวลานานในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง

5. กลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มก้อน (Cluster Sampling)
บางครั้งในการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ต้องกำหนดตำแหน่งแต่ละจุดภาพแบบสุ่มไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลในแต่ละประเภท อาจจะมีความยาก ดังนั้นอาจมีการสุ่มข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆในประเภทเดียวกันแต่ละก้อนดังรูปที่ 7.14 แต่ข้อเสียก็คือ แต่ละจุดภาพในกลุ่มที่แทนรายละเอียดนั้นจะไม่มีความเป็นอิสระกันของแต่ละพื้นที่และแต่ละกลุ่มจะมีจำนวนจุดภาพไม่น้อยกว่า 10 จุดภาพแต่จะไม่มากกว่า 25 จุดภาพ [8]

6. กลุ่มตัวอย่างแบบตัดผ่านและแบบเส้นชั้นความสูง (Transect and Contour Sampling)
เป็นกลุ่มตัวอย่างจากการเลือกจุดภาพที่มีข้อมูลรายละเอียดของแต่ละประเภทน้อยในชุดข้อมูลนั้น ดังนั้นกลุ่มตัวอย่าง
ที่เลือกจะถูกออกแบบให้สัมพันธ์กันตามแนวลักษณะเส้นที่ตัดผ่านหรือลักษณะของเส้นชั้นความสูงแต่ละช่วง
ดังรูปที่ 7.15a และ 7.15b ซึ่งข้อดีของกลุ่มตัวอย่างแบบนี้คือได้กลุ่มตัวอย่างรวดเร็วและมีทิศทางตามกำหนด
แต่ในบางครั้งอาจจะไม่มีรายละเอียดบางประเภทในจุดภาพที่เส้นชั้นความสูงตัดผ่านเลยก็ได้ ถ้ามีจำนวนของ
รายละเอียดดังกล่าวบนพื้นที่ที่อาจจะไม่ชัดเจนและมีจำนวนน้อย


                  < Back

 
 

© ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี